Category: ข่าวประชาสัมพันธ์
เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2563 นายสรายุทธ สิริภูษิต ผู้อำนวยการกลุ่มวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศ พร้อมด้วยผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ผู้อำนวยการกลุ่มทะเบียนเกษตรกร ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาระบบสารสนเทศ ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนานวัตกรรมดิจิทัล เจ้าหน้าที่ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เข้าร่วมฟังการนำเสนอ เทคโนโลยี Fiber for Internet และ Smart Mobile โดยเจ้าหน้าที่จากบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เพื่อนำข้อมูลที่เกี่ยวข้องมาดำเนินการพัฒนาเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตในการให้บริการแก่หน่วยงานภายในกรมส่งเสริมการเกษตรให้มีคุณภาพ ครอบคลุมความต้องการใช้งาน ณ ห้องประชุมศูนย์ปฏิบัติการกรมส่งเสริมการเกษตร ชั้น 2 อาคาร 1 กรมส่งเสริมการเกษตร
วันศุกร์ที่ 18 ธันวาคม 2563 นายขัตติยะ พรหมวาส นักวิชาการแผนที่ภาพถ่ายชำนาญการ พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารและเจ้าหน้าที่จากสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 6 เชียงใหม่ เป็นวิทยากรในการอบรมระบบนำเข้าแปลงเกษตรกรรมดิจิทัล(http://geoplots.doae.go.th/) ณ ห้องประชุมสำนักงานเกษตรจังหวัดพิษณุโลก อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก

-
-
วันศุกร์ที่ 18 ธันวาคม 2563 นายขัตติยะ พรหมวาส นักวิชาการแผนที่ภาพถ่ายชำนาญการ พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารและเจ้าหน้าที่จากสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 6 เชียงใหม่ เป็นวิทยากรในการอบรมระบบนำเข้าแปลงเกษตรกรรมดิจิทัล ภายใต้โครงการขึ้นทะเบียนและปรับปรุงทะเบียนเกษตรกรให้กับเจ้าที่ส่งเสริมการเกษตร เพื่อให้ความรู้และสร้างความเข้าใจในระบบนำเข้าแปลงเกษตรกรรมดิจิทัล (http://geoplots.doae.go.th/) ที่กรมส่งเสริมการเกษตรได้พัฒนาขึ้น แก่เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร สำนักงานเกษตรอำเภอของจังหวัดพิษณุโลก ณ ห้องประชุมสำนักงานเกษตรจังหวัดพิษณุโลก อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก
วันศุกร์ที่ 18 ธันวาคม 2563 นายสรายุทธ สิริภูษิต ผู้อำนวยการกลุ่มวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศ นายสัมฤทธิ์ เทวะภูมิ ผู้อำนวยการกลุ่มทะเบียนเกษตรกร เจ้าหน้าที่ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และเจ้าหน้าที่จากบริษัทแมพพ้อยเอเชีย (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ร่วมประชุมหารือติดตามการใช้บริการ Google Maps Platform ณ ห้องประชุม 4/2 ชั้น 4 กรมส่งเสริมการเกษตร เพื่อติดตามสถานะและปัญหาอุปสรรคการใช้บริการ Google Maps Platform ในระบบสารสนเทศต่าง ๆ ของกรมส่งเสริมการเกษตร
เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2563 นางพรรณาภา ปรัชญาศิริ ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เป็นประธานในการประชุมหารือประเด็นเกี่ยวกับฐานข้อมูลเกษตรกร ในช่วงปี พ.ศ. 2560 – ปัจจุบัน เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการจัดทำรายงานการศึกษาความเหมาะสมโครงการขยายเขตไฟฟ้าในพื้นที่ทำกินทางการเกษตร ระยะที่ 3 เวลา 10.00 น. ณ ห้องประชุมศูนย์ปฏิบัติการกรมส่งเสริมการเกษตร ชั้น 2 อาคาร 1 กรมส่งเสริมการเกษตร
เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2563 นางพรรณาภา ปรัชญาศิริ ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เป็นประธานในการประชุมเพื่อชี้แจงการประชาสัมพันธ์การใช้งานแอปพลิเคชันมะลิซ้อน ผ่านระบบ Video Conference และถ่ายทอดสดทาง ssnet ณ ห้องประชุมศูนย์ปฏิบัติการกรมส่งเสริมการเกษตร ชั้น 2 อาคาร 1 กรมส่งเสริมการเกษตร

เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2563 นางพรรณาภา ปรัชญาศิริ ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เป็นประธานในการประชุมเพื่อชี้แจงการประชาสัมพันธ์การใช้งานแอปพลิเคชันมะลิซ้อน ผ่านระบบ Video Conference และถ่ายทอดสดทาง ssnet โดย นายสรายุทธ ผู้อำนวยการกลุ่มวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศ เจ้าหน้าที่ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เจ้าหน้าที่กองแผนงาน เจ้าหน้าที่กองพัฒนาเกษตรกร เจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรจังหวัด 25 จังหวัดที่เป็นพื้นที่เป้าหมาย และเจ้าหน้าที่สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์ ธนาคารแห่งประเทศไทย เข้าร่วมด้วย
สรุปประเด็นสำคัญในการประชุมฯ ดังนี้
1.การประชาสัมพันธ์การใช้งานแอปพลิเคชันมะลิซ้อน ผ่านช่องทาง Line กำหนดพื้นที่เป้าหมาย 22 จังหวัด 50 ตำบล ซึ่งเป็นการประชาสัมพันธ์ผ่านเจ้าหน้าที่ระดับตำบล โดยกรมส่งเสริมการเกษตรจะส่งข้อความประชาสัมพันธ์ เพื่อให้เจ้าหน้าที่ฯ ส่งต่อข้อความให้ผู้ใหญ่บ้านผ่านช่องทาง Line และแจ้งกำชับให้ผู้ใหญ่บ้านกระจายข้อมูลต่อไปยังเกษตรกรลูกบ้านของตน
2. ประชาสัมพันธ์การใช้งานแอปพลิเคชันมะลิซ้อน ผ่านช่องทางเกษตรกรอาสา กำหนดพื้นที่เป้าหมาย 23 จังหวัด 100 ตำบล โดยให้เจ้าหน้าที่ประสานงานในพื้นที่เป้าหมายฯ ดำเนินการดังนี้
1) คัดเลือกเกษตรกร ตำบลละ 1 คน ที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์การคัดเลือกเกษตรกรตัวแทน เพื่อเป็นตัวกลางกระจายข้อมูลการใช้งานแอปพลิเคชันมะลิซ้อนรายงานความเสียหายจากภัยพิบัติ ปีการผลิต 2563 เพื่อการกระจายข่าวสาร สอนวิธีการรายงานความเสียหายและการยื่นคำร้องขอสินไหมด้วยแอปพลิเคชันมะลิซ้อนให้แก่เกษตรกรรายอื่นในตำบล ทั้งนี้ เกษตรกรดังกล่าวฯ จะได้รับค่าตอบแทนในการดำเนินการ 3 ระดับ มีรายละเอียดดังนี้
– ค่าตอบแทนฐาน : เกษตรกรอาสาจะได้ค่าตอบแทนในอัตรา 20 บาทต่อจำนวนเกษตรกรผู้มีประกันภัยข้าวนาปีที่ได้ดำเนินการ 3 ขั้นตอน ประกอบด้วย 1) ดาวน์โหลด 2) ลงทะเบียน และ 3) วาดขอบแปลงและกรอกข้อมูลแจ้งรายงานในระบบสำเร็จ (จำกัดโควตาอยู่ที่ 200 รายต่อ 1 เกษตรกรอาสา)
– ค่าตอบแทนสูงสุด : เกษตรกรอาสาจะได้ค่าตอบแทนในอัตรา 30 บาทต่อจำนวนเกษตรกรผู้มีประกันภัยข้าวนาปีที่ได้ดำเนินการ 5 ขั้นตอน ประกอบด้วย 1) ดาวน์โหลด 2) ลงทะเบียน 3) วาดขอบแปลง และกรอกข้อมูลแจ้งรายงานในระบบสำเร็จ 4) กรอกข้อมูลรายงานความเสียหายในระบบทันทีเมื่อเกิดภัยพิบัติ แม้จะยังไม่มีการประกาศเขตภัยพิบัติ พร้อมถ่ายรูปแปลงที่เสียหายและอัพโหลดในระบบ และ 5) กดส่งรายงาน
ความเสียหายในระบบ (จำกัดโควตาอยู่ที่ 200 รายต่อ 1 เกษตรกรอาสา)
– โบนัส : เกษตรกรอาสามีโอกาสได้ค่าตอบแทนพิเศษเพิ่มเติมอีก 5,000 บาท ในกรณีที่สามารถเผยแพร่และช่วยเกษตรกรผู้มีประกันภัยข้าวในพื้นที่ดำเนินการใน 3 ขั้นตอน หรือ 5 ขั้นตอนข้างต้นสำเร็จได้มากกว่า 200 คน (จำกัดโควตาเกษตรกรอาสา 10 อันดับแรกที่มียอดสำเร็จสูงสุด)


